ภาวะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ภาวะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป

ไฟล์:Soviet guerilla.jpg
ภาพทหารกองโจรของโซเวียตในแนวรบด้านตะวันออก

 


ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ยุโรปได้เผชิญกับระเบียบใหม่” (New Order) อย่างน้อย 2 ระยะ คือ






1.          ระเบียบใหม่ยุคแรก ระหว่างปี ค.. 1945 ถึง สิ้นปี ค.. 1989
ระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ยังอาจแบ่งออกเป็นช่วงเวลาย่อยได้อีกหลายระยะ ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดคือ ระหว่างปี ค.. 1945-1949 ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของสงครามใหญ่ระดับโลก ปรากฏการณ์เหล่านั้นได้จัดตัวเองให้ปรากฏเป็นระเบียบ” (Order) ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนเลย อันได้แก่
1.1  การแบ่งประเทศในยุโรปออกเป็นกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออกเพื่อผลประโยชน์ หมายถึง ประเทศยุโรปที่เป็นประชาธิปไตย ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา และประเทศยุโรปที่เป็นสังคมนิยมภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ และได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัสเซีย (กลุ่มโซเวียต : Soviet Bloc)
1.2  ภาวการณ์ในข้อ 1.1 มีผลให้เกิดการแข่งขันระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซียในการสร้างระบบควบคุมและการสวามิภักดิ์จากพันธมิตรของตน และที่สำคัญคือ รักษากลุ่มของตนให้พ้นจากภัยรุกรานโดยตรงหรือโดยอ้อมจากฝ่ายตรงข้าม ต่างฝ่ายจึงต้องมีเครื่องมือเพื่อสนองนโยบายดังกล่าว ฝ่ายสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตกจึงได้ก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ” (NATO-North Atlantic Organization) ขึ้นในปี ค.. 1949  ส่วนฝ่ายรัสเซียได้ก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ” (Warsaw Treaty Organization) ขึ้นเพื่อกระทำหน้าที่ต่าง ๆอย่างเป็นทางการในปี ค.. 1955
1.3  บางประเทศอดีตสังคมนิยมมีการสลายตัวจากประเทศใหญ่กลายเป็นประเทศเล็กสืบเนื่องมาจากการล่มสลายของระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ได้มีผลให้มีการสลายตัวของกลุ่มโซเวียตและองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ” (รวมทั้งองค์การโคมีคอนซึงเป็นองค์การร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสังคมนิยม) ปรากฏการณ์นี้มีผลให้เกิดการสิ้นสุดของสงครามเย็น
1.4  มีการรวมประเทศเยอรมันทั้งสองเข้าเป็นประเทศเดียวกัน
2.          ระเบียบใหม่ยุคหลัง แม้จะมีระยะเวลาไม่นาน แต่ดูจากภาพภายนอกปรากฏเป็นทวีปยุโรป
ที่คลายความตึงเครียด เป็นยุโรปที่มีท่าทีจะรวมกันระหว่างตะวันตก-ตะวันออกเพื่อแสวงหาประโยชน์ร่วมกันในด้านต่าง ๆ จากทรัพยากรที่ต่างมีอยู่และเป็นยุโรปที่ดูทีท่าว่าจะปลอดวิกฤตการณ์รวมทั้งปลอดจากความหมิ่นเหม่ของการเกิดการนำใช้อาวุธนิวเคลียร์และจะเป็นยุโรปที่ไม่มีการเผชิญหน้าทางทหารอีกต่อไป


ภาวะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเอเชีย

เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และ ประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี รูส เวลท์ ของสหรัฐอเมริกา นัดพบกันในที่ประชุมลับ เมื่อปี 1941
เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และ ประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี รูส เวลท์ ของสหรัฐอเมริกา นัดพบกันในที่ประชุมลับ เมื่อปี 1941


      หลังสงครามโลกภูมิศาสตร์การเมืองของเอเชียเปลี่ยนไป มหาอำนาจเจ้าอาณานิคม เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ และฮอลันดา ค่อยๆ เสียเมืองขึ้นของตนไป ขณะที่สหรัฐเริ่มก้าวเข้ามีบทบาทและอิทธิพล
ศาสตราจารย์เรมอนด์ คัลลาแฮน จากภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเดลาแวร์ ชี้ว่าในสายตาของชาติเมืองขึ้นความพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่นในช่วงแรกของสงคราม เป็นจุดสำคัญที่ทำให้สถานะของเจ้าอาณานิคมง่อนแง่น
เขี้ยวเล็บความยิ่งใหญ่ของเจ้าอาณานิคมชาติต่าง ๆ ในภูมิภาค และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ของอังกฤษโดนกระทบอย่างมาก เพราะช่วงต้นสงคราม ญี่ปุ่นยึดชาติเมืองขึ้นไว้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

 “ ความพ่ายแพ้ของอังกฤษที่สิงคโปร์ ฝรั่งเศสที่อินโดจีน เนเธอร์แลนด์ที่อินโดนีเซีย ล้วนแต่บั่นทอนภาพลักษณ์และศักดิ์ศรีของเจ้าอาณานิคม
ศาสตราจารย์เรมอนด์ คัลลาแฮน จากภาควิชาประวัติศาตร์ มหาวิทยาลัยเดลาแวร์


เจ้าอาณานิคมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียช่วงนั้นคืออังกฤษ แต่นักประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ชี้ว่า แม้ท้ายที่สุดจะชนะสงคราม
แต่อังกฤษก็กลายเป็นชาติที่จนลงกว่าเดิม บ้านเมืองพังพินาศจากการทิ้งระเบิดของนาซีเยอรมนี ขณะที่เนเธอร์แลนด์กับฝรั่งเศสก็ยับเยินไม่แพ้กัน
อังกฤษมีปัญหามากมายที่ต้องสะสางในบ้านมากกว่าดูแล เมืองขึ้นที่อยู่ห่างไกล ดังนั้นพอสงครามยุติแค่สองปี ก็เสียอินเดียเป็นชาติแรก ตามมาด้วย พม่า ศรีลังกา มาเลเซีย สิงคโปร์

จัดระเบียบโลกใหม่
เจ้าอาณานิคมยุโรปชาติอื่นๆ ก็ค่อย ๆ เสียเมืองขึ้นของตัวเองไปเช่นกัน เพราะสหรัฐแสดงท่าทีชัดว่าไม่สนับสนุน และนโยบายนี้ของสหรัฐทำให้โฉมหน้าภูมิศาสตร์การเมืองในเอเชียเปลี่ยนไปด้วย


ลอร์ด หลุยส์ เมาแบทเทน ผู้บัญชาการกองกำลังสัมพันธมิตรในเอชียอาคเนย์
สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นจุดจบของยุคอาณานิคม




 ดร. คัลลาแฮนชี้ว่าสหรัฐแสดงเจตนารมณ์ชัดเจนตลอดสงครามครับ ว่าไม่ต้องการให้คงลัทธิเจ้าอาณานิคมยุโรปในเอเชียอีกต่อไป




รัฐบาลของประธานาธิบดีรูสเวลท์วางนโยบายจัดระเบียบโลกใหม่หลังสงคราม โดยที่สหรัฐจะมีบทบาทและอิทธิพล พวกเขาเชื่อว่านี่เป็นนโยบายที่ดี ไม่เพียงแต่สำหรับสหรัฐเท่านั้น แต่สำหรับโลกทั้งโลกด้วย


เศรษฐกิจแข็งแกร่ง
พอเจ้าอาณานิคมเดิมถอนตัวออกไป สหรัฐเริ่มเข้ามามีบทบาทแทนที่ นอกจากนั้นการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐในช่วงสงครามก็ส่งให้ฐานะทางเศรษฐกิจ ของสหรัฐเข้มแข็งยิ่งขึ้น
ดร. คัลลาแฮนชี้ให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐก่อนและหลังสงคราม


นายพลดักกลาส แมคอาเธอร์ ผู้บัญชาการกองกำลังสัมพันธมิตรลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกบนเรือรบยูเอสเอส มิสซูรี่
นายพลดักกลาส แมคอาเธอร์ ผู้บัญชาการกองกำลังสัมพันธมิตรลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกบนเรือรบยูเอสเอส มิสซูรี่

สงครามช่วยแก้ปัญหาใหญ่ของสหรัฐในตอนนั้นคือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ที่เริ่มเมื่อปี 1929 หรือที่เรียกว่า great depression แต่สงครามกระตุ้นให้เศรษฐกิจของสหรัฐขยายตัว มีการกระจายรายได้และความร่ำรวยไปสู่ทั้งภาคการผลิตและผู้ใช้แรงงาน และท้ายที่สุดยุติภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ยืดเยื้อร่วมสิบปี
สหรัฐกลายเป็นชาติที่ร่ำรวย มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง เพราะเป็นชาติใหญ่เพียงชาติเดียวที่บ้านเมืองไม่เสียหาย และอุตสาหกรรมการผลิตไม่ถูกกระทบเลย"


ภาวะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในทวีปแอฟริกา

หลังจากได้รับเอกราช ดินแดนอาณานิคมแอฟริกาได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นประเทศใหญ่น้อยกว่า 50 ประเทศ ประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ต่างประสบปัญหาเช่นเดียวกับประเทศเกิดใหม่ในที่อื่น ๆ เช่น ปัญหาความยากจนและความล้าหลังของประเทศ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าต่าง ๆ ปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และปัญหาการขยายอิทธิพลของชาติมหาอำนาจในดินแดนแอฟริกา

ภาวะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศละตินอเมริกา
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง สหรัฐอเมริกาได้แผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา โดยการเข้าไปแทรกแซงสนับสนุนรัฐบาลที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกา หรือเข้าไปโค่นล้มรัฐบาลของบางประเทศที่มีนโยบายขัดผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา เช่น การสนับสนุนกลุ่มกบฏโค่นล้มรัฐบาลฟิเดล คัสโตร แห่งคิวบา ซึ่งฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. 1962 แต่ต้องประสบความล้มเหลว เป็นต้น