ความเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจหลังสงครามเย็น

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
สหภาพโซเวียตในศตวรรษที่ 20 มิใช่สังคมที่มีโครงสร้างชนชั้นแบบคอมมิวนิสต์ เนื่องจากโครงสร้างชนชั้นแบบคอมมิวนิสต์ยังมิได้ลงหลักปักฐานแทนที่โครงสร้างชนชั้นแบบทุนนิยม การปฏิวัติดังกล่าวเป็นเพียงการเปลี่ยนรูปแบบของระบบทุนนิยม จากทุนนิยมเอกชน (Private apitalism) เป็น ทุนนิยมโดยรัฐ (State Capitalism) เท่านั้น  การปฏิวัติ 1917 มิใช่การเปลี่ยนรูปแบบจาก ทุนนิยม เป็น คอมมิวนิสต์ แต่อย่างใด
ประวัติศาสตร์ของสหภาพโซเวียตในศตวรรษที่ 20 จึงเป็นประวัติศาสตร์ที่มีเรื่องเล่าว่าด้วยการเปลี่ยนผันสลับไปมาระหว่างทุนนิยมเอกชนและทุนนิยมโดยรัฐตามบริบทของเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละห้วงเวลา  มิใช่ประวัติศาสตร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงจากทุนนิยมสู่คอมมิวนิสต์
ในยุคพระเจ้าซาร์ โครงสร้างชนชั้นเป็นแบบทุนนิยมเอกชน หลังปฏิวัติ 1917 ทุนนิยมโดยรัฐเข้าแทนที่ทุนนิยมเอกชนซึ่งเลนินถือว่าเป็นกระบวนการที่จำเป็นในการเปลี่ยนผ่านจากทุนนิยมเป็นคอมมิวนิสต์  หน่วยงานของรัฐในเวลาต่อมาเป็นผู้เข้าถือครองและกระจายส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากการผลิตโดยแรงงานตามแผนเศรษฐกิจที่ส่วนกลางได้วางไว้โดยปราศจากบทบาทของตลาดและกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล
แต่ใช่ว่าโครงสร้างทางชนชั้นแบบทุนนิยมจะเป็นโครงสร้างเดียวที่ดำรงอยู่ในสังคม ในแต่ละช่วงเวลาของสังคมมีโครงสร้างทางชนชั้นดำรงอยู่ร่วมกันอย่างหลากหลายหลากหลาย แม้รัฐบาลเข้ามีบทบาทในภาคอุตสาหกรรม เช่น เข้าเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดราคาผลผลิตและค่าจ้าง
หลังทศวรรษ 1920 กลุ่มเกษตรกรอิสระและนายทุนเอกชนมีอำนาจและความมั่งคั่งสูงขึ้นมาก ผลที่ตามมาคือราคาสินค้าและวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น จนถึงระดับที่รัฐเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม สตาลิน ซึ่งเป็นผู้นำในยุคนั้นได้เสนอจัดตั้งระบบนารวมขนาดเล็กแทนที่เกษตรกรอิสระและนายทุนเอกชนในการผลิตภาคเกษตรรัฐก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในการกระจายส่วนเกินที่เอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนอุตสาหกรรม และกำหนดราคา โดยตั้งราคาสินค้าประเภทอาหารให้ต่ำ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านอุตสาหกรรม ในทางตรงกันข้ามรัฐกลับตั้งราคาสินค้าอุตสาหกรรมในระดับสูง นโยบายโยกย้ายส่วนเกินดังกล่าวเสมือนให้รางวัลแก่ภาคอุตสาหกรรมและลงโทษภาคเกษตร 

ความเปลี่ยนแปลงในยุโรปตะวันออก
หลังยุคสงครามเย็น ยุโรปได้มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างทางการเมือง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการสิ้นสุดของระบบคอมมิวนิสต์ทั้งในสหภาพโซเวียตและยุโรป
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นอาจนิยามว่า ภูมิศาสตร์การเมืองกล่าวคือเป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงของบรรยากาศทางการเมืองจนทำให้โครงสร้าง ระบบการเมืองการปกครองต้องมีการเปลี่ยนแปลงและปรับตัว องค์ประกอบการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมีดังนี้
ประการแรก ประเทศเกิดใหม่ในยุโรปมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นหลังยุคสงครามเย็น ประเทศใหม่ ๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่แตกออกมาจากประเทศเดิมเป็นหลายประเทศ
ประการที่สอง การเมืองภายในประเทศต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปก็มีการเปลี่ยนแปลงโดยสามารถแยกลักษณะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ออกมาดังนี้คือ เกิดจากการขยายตัวของพรรคฝ่ายขวาจัดซึ่งได้รับคะแนนเสียงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือคะแนนเสียงของพรรคแนวหน้าแห่งชาติ (Front National) ที่เพิ่มขึ้นของฝรั่งเศส นอกจากนั้นยังเกิดการขยายตัวของการดำเนินนโยบายของพรรคเดิมแต่เพิ่มนโยบายฝ่ายขวาจัดมากขึ้นด้วยเช่น กรณีของประธานาธิบดีซาร์โกซี ในเรื่องเกี่ยวกับผู้อพยพ
ประการที่สาม เกิดการขยายตัวของพรรคใหม่ ๆ และเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้นที่สำคัญคือกรณีเยอรมันคะแนนเสียงที่เพิ่มขึ้นของพรรคกรีนที่เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1968 เป็นเพียงกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมของนักศึกษาและในช่วงการ เลือกตั้งท้องถิ่นในเยอรมันที่ผ่านมาก็สามารถได้คะแนนเสียงขึ้นมาจัดตั้ง รัฐบาลท้องถิ่นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ประการที่สี่ ในอดีตนั้นสหภาพยุโรปมีการรวมกลุ่มแน่นแฟ้นไม่ว่า จะเกิดวิกฤตอย่างไรก็ใช้วิกฤตเป็นโอกาสเพื่อขับเคลื่อนการรวมตัวกันทางการ เมือง เศรษฐกิจ รวมถึงหลังสุดได้มีสถาบันประธานาธิบดีและรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปอัน เป็นผลจากสนธิสัญญาลิชบอน (Treaty of Lisbon) อย่างไรก็ตามวิกฤติทางการเงินการคลังจากประเทศกลุ่ม PIGS ประกอบด้วย โปรตุเกส ไอร์แลนด์ กรีก และสเปน ได้ส่งผลกระทบต่อการรวมตัวนั่นก็คือเอกภาพทางนโยบายด้านการเงินและการคลัง
ประการที่ห้า พรรคการเมืองในสหภาพยุโรปมีแนวโน้มทิศทางเดียวกันคืออุดมการณ์แบ่งแยกอย่าง เด่นชัดคือพรรคฝ่ายขาวและพรรคฝ่ายซ้ายนั้นเริ่มที่จะพร่าเลือนมากขึ้น เช่นช่วงที่ผ่านมาพรรคฝ่ายซ้ายในอังกฤษอย่างพรรคแรงงานก็ดำเนินนโยบายของ พรรคฝ่ายขวาในยุคของโทนี่แบร์ก็ดำเนินนโยบายของแทชเชอร์ทั้ง ๆ ที่แบร์เป็นผู้นำฝ่ายซ้าย ขณะเดียวกันในช่วงวิกฤตก็ปรากฏว่าพรรคฝ่ายขวาได้ดำเนินนโยบายฝ่ายซ้ายคือโอนกิจการธนาคารมาเป็นของรัฐ
การเมืองภายในก็มีการเปลี่ยนแปลงมีนัยยะสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือก นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง ประธานาธิบดีโดยใช้ระบบ Primary แบบสหรัฐอเมริกา
ประการที่หก ทิศทางที่มีลักษณะเหมือนกับในกลุ่มสหภาพยุโรปคือการขยายตัวของแนวคิดชาติ นิยมโดยมีแนวโน้มที่จะแยกประเทศออกมา ทิศทางดังกล่าวเกิดมากโดยเฉพาะในเบลเยี่ยมและสเปนซึ่งต่างก็ประกอบด้วยชน ชาติและภาษาที่แตกต่างกันไป ความขัดแย้งดังกล่าวนั้นไม่สามารถผสมผสานกันได้ดังในอดีต แนวโน้มในการแยกกันปกครองออกจากกันเริ่มแผ่วงกว้างมากขึ้น


การรวมเยอรมนี
ใน ค.ศ.1989 ได้เกิดเหตุการณ์จลาจลของประชาชนในประเทศเยอรมนีตะวันออกทำให้รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ต้องล่มสลายลง  กระบวนการรวมเยอรมนีเริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน  ค.ศ. 1989  กำแพงเบอร์ลินถูกทำลาย  ต่อมาในเดือนมีนาคม  ค.ศ. 1990  พรรคที่สนับสนุนการรวมประเทศในที่สุดผู้แทนของเยอรมนีตะวันออกและเยอรมนีตะวันตกลงนามในสนธิสัญญาการรวมเยอรมนี   การรวมเยอรมนีเสร็จสมบูรณ์ในวันที่  3  ตุลาคม  ค.ศ. 1990  ภายใต้ชื่อสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี  มีกรุงเบอร์ลินเป็นเมืองหลวง
การรวมเยอรมนี ทำให้เยอรมนีตะวันตกซึ่งปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยและมีระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด  ต้องเข้ามาปฏิวัติและปฏิรูปทางด้านการเมืองและการปกครองให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกล่าวคือ ได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้น รัฐบาลใหม่ของเยอรมนีได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงรัฐวิสาหกิจและกาประกอบการที่ล้มเหลวในเยอรมนีตะวันออกให้ฟื้นตัวขึ้น ทั้งยังได้ลดการอพยพของชาวเยอรมันจากตะวันออกเข้ามายังเยอรมนีตะวันตกได้ส่วนหนึ่งด้วย


การเปิดของประเทศจีน
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศในปี พ.ศ. 2492 จนถึงปลาย พ.ศ. 2521สาธารณรัฐประชาชนจีนใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง เหมือนโซเวียต ไม่มีภาคเอกชนหรือระบอบทุนนิยม เหมา เจ๋อตุง เริ่มใช้นโยบายก้าวกระโดดไกล เพื่อผลักดันประเทศให้กลายเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ที่ทันสมัยและก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม แต่นโยบายนี้กลับถูกมองว่าเป็นความล้มเหลวทั้งทางเศรษฐกิจและมนุษยธรรม หลังจากที่เหมาเสียชีวิตและสิ้นสุดการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เติ้ง เสี่ยวผิง และผู้นำจีนรุ่นใหม่ได้เริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจและใช้ระบอบเศรษฐกิจแบบผสมที่ให้ความสำคัญกับทุนนิยมมากขึ้น
อย่างไรก็ตามเมื่อเริ่มมีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในปี 2521 เศรษฐกิจของจีนซึ่งนำโดยการลงทุน และการส่งออกเติบโตขึ้นถึง 70 เท่า และกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่เติบโตเร็ว และหากวัดด้วยอำนาจซื้อ จีนจะมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นที่สองรองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น จีนเป็นสมาชิกขององค์การค้าโลก และเป็นประเทศที่มีมูลค่าทางการค้าสูงเป็นอันดับสามรองจากสหรัฐอเมริกา และเยอรมนี จีนมีมูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในโลก เป็นหนึ่งในประเทศยอดนิยมของการลงทุนจากต่างชาติ โดยสามารถดึงเงินลงทุนมากกว่า 8 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2550 เพียงปีเดียว